สับปะรดสี หรือบรอมีเลียด (Bromeliad) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae มีให้เลือกมากมายหลายประเภท บางชนิดปลูกบนดินได้และทนทานกับแสงแดดจัด บ้างเหมาะกับการปลูกเป็นไม้กระถางประดับ หรือปล่อยให้เติบโตกับขอนไม้ ตลอดจนคาคบไม้และซอกหิน
13 ม.ค. 2565
1,354
0
สับปะรดสีหรือบรอมีเลียด(Bromeliad)เป็นพืชในวงศ์
สับปะรดสี หรือบรอมีเลียด (Bromeliad) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae มีให้เลือกมากมายหลายประเภท บางชนิดปลูกบนดินได้และทนทานกับแสงแดดจัด บ้างเหมาะกับการปลูกเป็นไม้กระถางประดับ หรือปล่อยให้เติบโตกับขอนไม้ ตลอดจนคาคบไม้และซอกหิน

สับปะรดสี หรือบรอมีเลียด  (Bromeliad) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae มีให้เลือกมากมายหลายประเภท บางชนิดปลูกบนดินได้และทนทานกับแสงแดดจัด บ้างเหมาะกับการปลูกเป็นไม้กระถางประดับ หรือปล่อยให้เติบโตกับขอนไม้ ตลอดจนคาคบไม้และซอกหิน

บางพวกในกลุ่มทิลแอนเซียหรือไม้อากาศปลูกเกาะกิ่งไม้ ตอไม้ ทำไม้แขวน ห้อยไว้กับขดลวดก็อยู่ได้  จุดเด่นของ สับปะรดสี ทั้งหลายอยู่ที่รูปทรงต้น สีสัน ลวดลายใบ ยามผลิดอกยังให้ความตื่นใจและแปลกตา ทั้งยังเลี้ยงง่ายและทนทาน จึงเป็นไม้ที่นิยมต่อเนื่องยาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เหมาะจะเป็นพรรณไม้ในสวนเมืองร้อน สวนธรรมชาติ สวนระเบียง สวนโมเดิร์น และสวนยุโรป ใครที่กำลังมองหาไม้ประดับมาตกแต่งบ้าน “บ้านและสวน” มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสับปะรดสีมาแนะนำ เผื่อจะอยากได้ไปปลูกที่บ้านบ้าง

สภาพพื้นที่ปลูก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับปลูกสับปะรดสีคือชื้นแต่ไม่แฉะ ต้องการแสงมากแต่ต้องไม่ร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรปลูกในบริเวณที่ได้รับแดดครึ่งวันเช้าจะดีกว่าแดดบ่าย และสามารถปลูกไว้กลางแจ้งได้ แต่ในช่วงฤดูร้อน ควรพรางแสงให้ร่มขึ้น เช่น หากปลูกไว้ใต้ซาแรนสีดำพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ให้ใช้มุ้งตาข่ายสีฟ้าขึงด้านล่างซาแรนเพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยตัดแสงที่ลงมา ให้น้อยลง ช่วยป้องกันใบไหม้ได้

การให้น้ำ

หากใช้น้ำประปารดควรขังน้ำทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกหมดก่อน เนื่องจากคลอรีนจะมีผลต่อพืชคือ เมื่อรดน้ำแล้วน้ำขังบริเวณปลายใบ คลอรีนจะไปกัดใบทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาลได้ รวมทั้งการฉีดน้ำลงบนยอดโดยตรงจะมีผลต่อการแตกยอดอ่อนได้เช่นกัน  สำหรับปัญหาที่พบกับผู้ปลูกเลี้ยงมือใหม่คือ ขยันรดน้ำมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติของพืชกลุ่มนี้ไม่ต้องการน้ำมาก เป็นต้นไม้ที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบหนีเที่ยวไปเป็นอาทิตย์

 

วัสดุปลูก

อาจใช้รากชายผ้าสีดา กาบมะพร้าวสับหรือขี้เลื่อยที่แช่น้ำไว้ 3 วันให้ยางออกหมดก่อน (หากนำมาใช้ทันทีจะมีผลทำให้บริเวณโคนต้นที่ชิดกับผิวดินแสดงอาการผิดปกติ หรือที่เรียกว่าอาการเน่าคอดิน) ผสมกับถ่านและอิฐมอญทุบ หรือหินภูเขาไฟ

 

ปุ๋ย

สามารถให้ปุ๋ยละลายช้าได้กับสับปะรดสีทุกชนิด แต่ไม่ควรมากและบ่อย เพราะจะทำให้ใบยาว เสียรูปทรง เทคนิคการให้ปุ๋ยสำหรับสับปะรดสี (รวมถึงไม้ประดับใบทั่วไป) ควรให้ในช่วงเย็น เนื่องจากในช่วงกลางคืนต่อไปอีก 12 ชั่วโมง ปุ๋ยที่ให้ยังอยู่ในรูปสารละลาย ซึ่งต้นไม้จะดูดซึมไปใช้ได้ดี ขณะที่หากให้ปุ๋ยในช่วงเช้าเมื่อถึงตอนสายแดดเริ่มแรงขึ้น จะทำให้น้ำระเหยเร็วจนแห้งหมด ทำให้ต้นไม้นำไปใช้ได้ไม่เต็มที่ และบนใบจะมีคราบปุ๋ย

 

การขยายพันธุ์

นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหน่อ เมื่อตัดออกมาอาจใช้ปูนแดงหรือยากันราป้ายบริเวณรอยตัด ทิ้งไว้ประมาณ สองสัปดาห์ พอตัดเสร็จก็ปักชำบนกาบมะพร้าวสับที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้รากเกาะได้เร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งราก จุดเจริญของรากจะอยู่บริเวณโคนกาบใบ เมื่อปลูกเสร็จให้รดน้ำหนึ่งครั้งและทิ้งไว้หนึ่งสัปดาห์ จึงรดน้ำซ้ำ

 

 

 

ตกลง