ด้วยผลผลิตทุเรียนในภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีการจำหน่ายให้กับโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ในพื้นที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี การควบคุมคุณภาพทุเรียน เพื่อรักษาคุณภาพและชื่อเสียงของผลผลิตทุเรียนของไทย จึงมีความสำคัญ
ดังนั้น จังหวัดปัตตานีมีคำสั่งคณะกรรมการและคณะทำงานมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด รวมทั้งออกประกาศกำหนดวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทองจังหวัดปัตตานี ในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2566 การประกาศกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนแต่ละพันธุ์ การประกาศขอความร่วมมือปฏิบัติตามมารตการตรวจก่อนตัดของจังหวัดปัตตานี และประกาศขอความร่วมมือเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้จำหน่ายทุเรียน ไม่ซื้อ - จำหน่าย ทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน)
ในการนี้ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ร่วมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องการปัญหาทุเรียนอ่อน และรณรงค์ให้เกษตรกรมายื่นสมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ได้รับการรับรอง GAP ทุเรียน
กิจกรรมสร้างการรับรู้ ให้เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนมายื่นขอการรับรองได้โดยสามารถยื่นเอกสารผ่านทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโดยตรง หรือผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ได้เช่นกัน
กิจกรรมฝึกอบรม สร้างความเข้าใจเชิงลึก จัดฝึกอบรม เพิ่มเนื้อหาในการรับรองมาตรฐาน GAP ทุเรียนให้กับเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียน รณรงค์ให้มีการเก็บข้อมูล นับวันดอกบานในทุเรียน ป้องกันปัญหาการตัดทุเรียนอ่อน ทั้งโครงการขยายผลการพัฒนาไม้ผลที่มีศักยภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โครงการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่
จัดรายการวิทยุกระทรวงเกษตรสรรหามาเล่า ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานีคลื่น FM 101 เมกะเฮริ์ท และทางเฟสบุคไลท์ เสน่ห์ปัตตานี
· มาตรฐาน GAP พืชอาหาร มกษ.9001-2564 มาตรฐานฉบับใหม่ ที่เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องเข้าใจ
· มกษ.3-2556 มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง ทุเรียน เพื่อเป็นทิศทางการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ