เตือนการระบาดโรคใบจุดวงมะเขือเทศ (Early Blight Disease of Tomato)
13 มิ.ย. 2560
4,686
2,575
เตือนการระบาดโรคใบจุดวงมะเขือเทศ (Early Blight Disease of Tomato)
เตือนการระบาดโรคใบจุดวงมะเขือเทศ (Early Blight Disease of Tomato)
เตือนการระบาดโรคใบจุดวงมะเขือเทศ (Early Blight Disease of Tomato)

#เตือนการระบาดโรคใบจุดวงมะเขือเทศ (Early Blight Disease of Tomato)

เตือนเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศสําคัญ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีอากาศชื้น มีฝนตกชุก ประกอบกับอุณหภูมิสูง เหมาะต่อการระบาดของโรคใบจุดวง ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสํารวจแปลงอย่างสม่ําเสมอ เมื่อพบอาการจุดเล็กๆ สีน้ำตาลบนใบแก่หรือแผลค่อนข้างกลม การเจริญของแผลเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนกันออกไป หรือบนกิ่ง ลักษณะแผลรียาวไปตามลําต้นสีน้ำตาลปนดําเป็นวงซ้อนกัน ผลแก่ที่เป็นโรคแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาลดํา และมีลักษณะวงแหวนเหมือนบนใบให้รีบขอคําแนะนําจากเจ้าหน้าที่สํานักงานเกษตรอําเภอ สํานักงานเกษตรจังหวัด เพื่อดําเนินการหาแนวทางควบคุมและป้องกันกําจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

#เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Alternaria solani

#ลักษณะอาการ
การเกิดโรคสามารถเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดที่มีเชื้อเกาะติดมาจะเกิดอาการคล้าย damping-off โดยเชื้อจะเข้าทําลายส่วนของลําต้นบริเวณโคนเกิดเป็นแผลยาวสีดําจมยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อย โดยแผลเหล่านี้อาจเกิดเพียง ๑ หรือ ๒ แผล ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อ ทําให้ต้นกล้าหักล้มแห้งตายหรือไม่ก็ชะงักการเจริญเติบโต
ในต้นโตอาการจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบ ต้น และกิ่งก้าน บนใบอาการจะเริ่มจากจุดแผลสีนํ้าตาลเข้มเล็กๆ อาจกลมหรือเป็นเหลี่ยมขนาดตั้งแต่ ๒ – ๔ มม. แผลจะมีลักษณะเป็นแอ่งจมยุบลงไปจากผิวปกติเล็กน้อยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบแก่ก่อน แผลเหล่านี้จะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นแผลแห้งสีน้ำตาลอาจมีขนาดใหญ่ ๑ -๒ ซม. พร้อมทั้งมีจุดสีดําเล็กๆ เกิดเป็นวงกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน (concentric ring) ต่อมาอาการจะพัฒนารุนแรงจนแสดงอาการใบไหม้แล้วแห้งตาย ส่วนบนต้น กิ่งก้าน หรือก้านใบแผลจะมีลักษณะเช่นเดียวกับต้นกล้า แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และเมื่อเป็นรอบต้นหรือกิ่งจะทําให้ต้นหรือกิ่งดังกล่าวหักพับลงกิ่ง หรือต้นที่ล้มหรือหักพับลงนี้หากส่วนของใบที่มีอยู่ยังไม่ตาย หากโน้มกิ่งดังกล่าวลงมาให้แตะกับผิวดินแล้วใช้ดินอีกส่วนหนึ่งกลบทับส่วนของกิ่งให้เหนือแผลขึ้นมาเล็กน้อย ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์จะมีการสร้างรากใหม่ขึ้นทําหน้าที่ดูดน้ำอาหารขึ้นตรงส่วนที่ดิบกลบทับอยู่ทําให้เจริญงอกงามต่อไปได้อีก ในต้นที่กําลังให้ดอกหากเกิดโรคขึ้นส่วนของดอกอาจจะถูกเชื้อทําลายได้ ทําให้ดอกร่วงไม่ติดผล

#อาการที่ผล โดยปกติแล้วโรคนี้จะไม่ทําลายผลมะเขือเทศ นอกจากพืชอ่อนแอมากๆ เช่น เป็นโรคอื่นอยู่ก่อนขาดน้ำขาดธาตุอาหารจําเป็นบางชนิดโดยเฉพาะแมกเนเซี่ยม (Mg) แผลมีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลมสีน้ำตาลแก่หรือดํา ขนาดและจํานวนไม่แน่นอนอาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือโตขนาดเท่าเหรียญหนึ่งบาท จํานวนอาจจะมีเพียงแผลเดียวไปจน ๕ – ๖ แผล แล้วแต่ความรุนแรงของโรค อาการที่เกิดขึ้นที่ผลนี้หากเป็นในขณะที่ยังอ่อนอยู่ อาจจะแห้งแล้วร่วงหลุดออกจากขั้วในที่สุด

#การแพร่ระบาด
เชื้อสาเหตุโรคสามารถมีชีวิตได้บนเศษซากพืชที่ปล่อยทิ้งไว้ตามดินแปลงปลูก เมื่อถึงฤดูปลูกใหม่ก็จะกลับมาก่อให้เกิดโรคได้อีก นอกจากนั้นการระบาดข้ามฤดูปลูกได้โดยติดปะปนอยู่กับเมล็ดพันธุ์ ส่วนการระบาดระหว่างต้น ในช่วงการปลูก ส่วนใหญ่เกิดจากสปอร์หรือโคนีเดียจํานวนมากบนแผลที่ต้น กิ่ง ใบ หลุดออกจากก้านชูสปอร์ปลิวไปตามลม นํ้า แมลง มนุษย์ สัตว์ และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ทุกชนิด ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อตกลงบนพืช สิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเส้นใยเจริญเติบโตเข้าไปภายในพืชโดยผ่านทางช่องเปิดธรรมชาติ การเข้าทําลาย
จะเป็นไปอย่างช้าๆ หากพืชแข็งแรงเจริญเติบโตเป็นปกติโดยจะใช้เวลาประมาณ ๘ – ๑๐ วัน แต่ถ้าพืชอ่อนแอหรือมีแผลเกิดขึ้นเวลาอาจจะสั้นลงเหลือเพียง ๔ – ๕ วัน และระบาดได้รุนแรงในสภาพที่ความชื้นและ อุณหภูมิสูงถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทําให้อาการจุดวงขยายตัวอย่างรวดเร็ว

#กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนําวิธีการป้องกันกําจัด ดังนี้
๑. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อปะปนอยู่ หากไม่แน่ใจให้ทําลายเชื้อดังกล่าวโดยนําไปจุ่มแช่ในน้ำอุ่น ๔๕ – ๕๐ องศาเซลเซียส นาน ๒๕ นาที
๒. หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วให้เก็บทําลายเศษซากพืชที่เป็นโรคให้หมดโดยการเผาหรือฝังดิน
๓. ปลูกพืชหมุนเวียนโดยใช้พืชอื่นที่ไม่ใช่ตระกูลพริก - มะเขือ (Solanacious) โดยปลูกสลับอย่างน้อย ๓ ปี
๔. หลีกเลี่ยงการย้ายกล้าอ่อนของมะเขือเทศไปปลูก ใกล้มะเขือเทศ มันฝรั่งหรือมะเขือยาวที่ปลูกอยู่ก่อน
๕. ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส คลุกเมล็ดก่อนปลูก และ/หรือผสมกับดินปลูก วัสดุปลูกหรือปุ๋ยอินทรีย์ และพ่นให้ทั่วทั้งต้นทุกๆ ๗ วัน
๖. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืชที่สามารถกําจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบไอโพรไดโอน
๗. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช เช่น
- ไดเทนเอ็ม-๔๕ แคปแตน แมนโคเซ็บ ๒๐ – ๓๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ
- คูปราวิท ไธแรม ซีเน็บ มาเน็บ ๔๐ – ๕๐ กรัมต่อนํ้า ๒๐ ลิตร
โดยให้เลือกใช้สารเคมีเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งทําการฉีดพ่นให้กับต้นมะเขือเทศทุกๆ ๗ – ๑๐ วัน ถ้าเกิดโรครุนแรงหรือสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการทําลายของโรค ก็ให้ร่นระยะเวลาพ่นให้เร็วขึ้นเป็น ๓ – ๕ วัน ต่อครั้ง

#ที่มา : ไทยเกษตรศาสตร์. ๒๕๕๖. โรคมะเขือเทศ (http://www.thaikasetsart.com/)
Zitter, T.A., Early blight of tomato, Vegetable MD online, Cornell University, Ithaca, NY
คลินิคพืช, พืชผัก (http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic)
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรคแมลงที่พบในมะเขือเทศ, เจียไต (http://www.chiataigroup.com)
#เรียบเรียงโดย กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ตกลง