บทความประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยในประเทศญี่ปุ่น
16 ธ.ค. 2563
565
541
บทความประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยในประเทศญี่ปุ่น
บทความประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยในประเทศญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (สปษ. โตเกียว)​ จัดจ้าง Mainichi Asia Business Institute บริษัท Mainichi Newspaper จัดทำบทความภาษาญี่ปุ่นประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยที่วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้งบประมาณส่งเสริมและผลักดันภารกิจด้านการเกษตรต่างประเทศ (งบรายจ่ายอื่น) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added) ในประเทศญี่ปุ่น

บทความดังกล่าวเป็นการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายใหญ่ของสินค้าแต่ละชนิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อถึงจุดเด่นของสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย มาตรฐานในการผลิต 
และความเชื่อมั่นในระบบการผลิต รวม 10 รายการ พร้อมบทสัมภาษณ์นายชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ตีพิมพ์ในวารสาร Mainichi Asia Business Report ฉบับเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2563 รวม 3 ครั้ง 

สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย 10 รายการ ได้แก่
1. เนื้อไก่แปรรูปแช่แข็ง (บริษัท Nichirei Foods)
2. กุ้งแช่แข็ง (บริษัท Maruha Nichiro)
3. ปลาทูน่ากระป๋อง (บริษัท Inaba Foods)
4. เส้นหมี่บีฮุ่น (บริษัท Kenmin Foods)
5. ขนมข้าวอบกรอบ (บริษัท Kameda Seika)
6. ข้าวหอมมะลิพร้อมรับประทาน (บริษัท Kitoku Shinryo)
7. ถั่วแระญี่ปุ่นแช่แข็ง (บริษัท Chiang Mai Frozen Foods) 
8. ว่านหางจระเข้บรรจุกระป๋อง (บริษัท Hotei Foods Corporation) 
9. สับปะรดกระป๋อง (บริษัท Mitsubishi Shokuhin)
10. แกงกะหรี่สำเร็จรูป (บริษัท Yamamori)

ในการนี้ สปษ. โตเกียว ได้รวมเล่มบทความดังกล่าว (ภาษาญี่ปุ่น) Link
พร้อมจัดทำคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่ด้านบนของเพจนี้

ข้อคิดเห็นของ สปษ. โตเกียว สำหรับการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้
1. การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้แบบแผนการบริโภคของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเลือกรับประทานอาหารในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ยอดจำหน่ายของซุปเปอร์มาร์เก็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าแปรรูปได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นานและสะดวกในการประกอบอาหารรับประทาน
2. ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมีภาพลักษณ์ว่าสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยส่วนใหญ่จำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเป็นหลัก การดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ฯ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคทั่วไปรู้จักสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยมากยิ่งขึ้น 
3. การสัมภาษณ์ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในประเทศไทยเป็นการนำเสนอจุดแข็งภาคเกษตรและการให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยอาหารและมาตรฐานการผลิต ช่วยสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศไทย และผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจในการบริโภค

 

 

ตกลง