วิสัยทัศน์/พันธกิจ
Missions
  • วิสัยทัศน์ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านการเกษตรและสหกรณ์ของประเทศภายในปี พ.ศ. 2570

     

    พันธกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    1. ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและสหกรณ์สู่การปฏิบัติในทุกระดับให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 

    2. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐของกระทรวง

     

     

     วัฒนธรรมองค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    มีคุณธรรม สร้างสรรค์ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบร่วมกัน  "HOPE” 

    H : Honesty : มีคุณธรรม 

    O : Ownership : รับผิดชอบร่วมกัน 

    P : Prompt to change : พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 

    E : Establish : สร้างสรรค์

    ค่านิยมองค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    ซื่อสัตย์ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รับฟังความคิดเห็น มุ่งผลสัมฤทธิ์

     

                                                     อำนาจหน้าที่

    ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๖ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๒ หน้าที่ ๒๘ ข้อที่ ๒๑ ได้กำหนดให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

    ๑. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้า แผนบูรณาการการพัฒนา การเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดและการจัดทำงบประมาณด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
    ๒. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด กำกับการบูรณาการ และติดตามการใช้งบประมาณของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงในจังหวัด
    ๓. กำกับ ดูแล ควบคุม ประสาน ดำเนินงานติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด
    ๔. ดำเนินงานโครงการพิเศษ โครงการในพระราชดำริ งานช่วยเหลือเกษตรกร งานภัยพิบัติ การเตือน การระบาดและเฝ้าระวัง และเตือนภัยสินค้าเกษตรในจังหวัด
    ๕. กำกับ ดูแล ควบคุมและพัฒนาข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดกระทรวงในจังหวัด
    ๖. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดให้เป็นศูนย์ข้อมูล และศูนย์แม่ข่ายข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
    ๗. กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
    ๘. ดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
    ๙. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

     

    วิสัยทัศน์ จังหวัดชุมพร

    “ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

     

    พันธกิจ จังหวัดชุมพร

    1. เศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงจากฐานการเกษตร การค้า การบริการ และสามารถสร้างงานอาชีพ ให้ชุมชน ประชาชน และเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง

    2. การท่องเที่ยวมีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล สามารถสร้างเศรษฐกิจ และการสร้างงาน อาชีพ กระจายรายได้จากการท่องเที่ยวทั่วทั้งจังหวัด

    3. ชุมพรเป็นเมืองที่น่าอยู่ และเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย ได้มาตรฐาน

    4. โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคมีมาตรฐานที่ดี ประชาชนเข้าถึงด้วยความสะดวกมีคุณภาพ ปลอดภัย รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต

    5. ประชาชนเป็นคนคุณภาพ ใฝ่รู้ เรียนรู้ ตลอดชีวิต ทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21  

    6. สังคมมีความเกื้อกูล แบ่งปัน และสันติสุข ปลอดภัย วัฒนธรรม วิถีชุมชนเข้มแข็ง มีความั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    7. ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้อย่างสมดุล ยั่งยืน และจังหวัดมีความมั่นคงทางพลังงาน และน้ำ

     

    เป้าประสงค์หลักการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (Goals) จังหวัดชุมพร

    1. การเสริมสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติมโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงจากฐานการเกษตร การค้า การบริการ และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เข็มแข็ง

    2. การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทย อันดามัน อาเซียน และนานาชาติ

    3. การพัฒนาเมืองที่น่าอยู่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม โลจิสติกส์ ที่สะดวก ปลอดภัย   ได้มาตรฐาน และเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ

    4. การสร้างคุณภาพ การพัฒนาสังคมแห่งความสันติสุข ปลอดภัย และการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลรองรับการเติบโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

     

    ค่านิยม “CTRU” จังหวัดชุมพร

     มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีจิตอาสา น้อมนำศาสตร์พระราชา พัฒนาอย่างมีธรรมาภิบาล

     

ตกลง