กยท.เตือนชาวสวน '600 ยอดดำ' พันธุ์ยางต้องห้าม
30 มี.ค. 2564
4,779
0
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
กยท.เตือนชาวสวน 600 ยอดดำ พันธุ์ยางต้องห้าม
กยท.เตือนชาวสวน '600 ยอดดำ' พันธุ์ยางต้องห้าม

         การยางแห่งประเทศไทยเตือนชาวสวนยางพารา หยุดปลูกยางพันธุ์ '600ยอดดำ' เหตุไม่ผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยยาง พบชาวสวนถูกหลอกให้ปลูกนาน 7 ปี สุดท้ายต้องจำใจโค่นทิ้ง เพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน ติดตามจากสุพิชฌาย์ รัตนะ ผู้สื่อข่าวเนชั่น ความเดือดร้อนของชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้วันนี้มีหลายจังหวัดที่พบว่ากำลังได้รับผลกระทบจากการปลูกยางพันธุ์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยยางอย่างต่อเนื่องถึงขั้นต้องตัดโค่นยางทิ้งเพื่อปลูกใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลาที่คาดว่ามีพื้นที่สวนยางกว่า 200 ไร่ที่กำลังเผชิญปัญหา หลังจากที่ได้ลงทุนปลูกมานานถึง 7 ปีแต่พอถึงเวลากรีดยางกลับได้ปริมาณน้ำยางที่ต่ำกว่าปกติ50% ล่าสุดการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจ แนะนำ และให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนยาง  นายสุรชัย บุญวรรโณ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง เปิดเผยว่า ได้รับทราบปัญหาจากชาวสวนกรณีที่มีการนำสายพันธุ์ยางบางสายพันธุ์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยยางมาปลูกในพื้นที่ โดยจะนำมาปลูกในแปลงไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือแปลงที่ไม่สามารถขอทุนปลูกแทนได้ พันธุ์ยางที่เกษตรกรนำมาปลูกรู้จักกันดีในชื่อ “600 ยอดดำ” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผู้ผลิตพันธุ์ยางผลิตและนำมาส่งเสริมให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ทั้งที่เป็นพันธุ์ที่ไม่มีการรับรอง, ไม่ผ่านการวิจัย หรือเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ  ทำให้มีเกษตรกรจำนวนหนึ่งหลงเชื่อว่าเป็นยางพันธุ์ดี แต่ปรากฏว่าหลังจากปลูกนาน 7 ปี เพิ่งมารู้ว่าผลผลิตที่ได้นั้นต่ำกว่ามาตรฐานและไม่คุ้มค่ากับการลงทุนจึงต้องตัดสินใจโค่นทิ้งเพื่อปลูกใหม่  ล่าสุด ปัญหานี้เริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทำให้จำเป็นที่ต้องส่งเจ้าหน้าที่กยท.เข้าไปเพื่อให้ความรู้เกษตรกรเลือกใช้พันธุ์ยางที่ได้รับการรับรองเท่า่นั้นอย่าหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อ และแนะนาให้เกษตรกรชาวที่กาลังจะปลูกยางใหม่ เลือกสายพันธุ์ที่ได้รับการรับรอง เช่น พันธุ์ RRIM600 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ยางดั้งเดิม, RRIT251, RRIT226, RRIT3802, RRIT3904 และอีกหลายสายพันธุ์ตามคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2559 นอกจากนี้เกษตรกรที่จะปลูกยางใหม่ ควรซื้อพันธุ์ยางจากแปลงผลิตพันธุ์ยางที่มีใบอนุญาตขยายพันธุ์ยางเพื่อการค้า จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น  ADVERTISEMENT   ด้านนายสุชาติ สุดหนู ชาวสวนยางบ้านควนเสม็ด ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา ที่จำใจต้องโค่นยางทิ้งเพื่อปลูกใหม่ กล่าวยอมรับว่า เมื่อ 7 ปีได้ซื้อกล้ายาง600ยอดดำมาจากแปลงขยายพันธุ์ยางเอกชนแห่งหนึ่ง ด้วยความเชื่อที่เจ้าของแปลงบอกว่าเจริญเติบโตเร็ว ใบหนา ทรงต้นสวย และกำลังได้รับความนิยมในช่วงนั้น จึงได้ซื้อมาปลูกพื้นที่ 2 แปลงจำนวน 13 ไร่และ 7 ไร่ แต่ไม่ได้ขอทุนปลูกแทนจากกยท. จนเมื่อถึงเวลาเปิดกรีดในช่วงยางอายุ 7 ปีปรากฏว่าให้ผลผลิตน้ำยางน้อยมาก เปรียบเทียบกันระหว่างสวนยาง 7 ไร่เคยได้น้ำยางประมาณ 80-100กิโลกรัมเหลือเพียง40-50 กก.เท่านั้นซึ่งลดลงเกือบ 50% แต่จากการลงทุนไปแล้วนานกว่า 7 ปีจึงต้องทนกรีดมาร่วม2ปีผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่าจึงตัดสินใจโค่นยางอายุ 9ปีทิ้งเพื่อปลูกใหม่  "ปลูกยางต้องใช้เวลา7 ปีกว่าจะได้กรีดแต่ปรากฎว่าได้ผลผลิตน้อยไม่ค้มค่าการลงทุนและค่าเหนื่อยที่ต้องตื่นตี2ทุกวันซึ่งการโค่นปลูกใหม่เท่ากับเสียเวลาทั้งหมด 14 ปี แต่การที่ออกมาให้ข้อมูลครั้งนี้เพื่อไม่ให้ชาวสวนยางต้องมานั่งเสียใจและย้ำให้เลือกพันธุ์ยางที่สถาบันวิจัยยางรับรองเท่านั้น 

ตกลง