ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในกระชาย
15 ก.ค. 2564
2,047
0
ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในกระชาย
ระวังโรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า
ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในกระชาย

ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในกระชาย

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกกระชาย ในระยะ ระยะเจริญเติบโต รับมือโรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) อาการเริ่มแรก ใบแสดงอาการม้วนห่อ สีของใบซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง บริเวณโคนต้นมีอาการฉ่ำน้ำ ลำต้นเน่าหลุดออกจากเหง้าได้ง่ายและหักพับ แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น หากตรวจดูที่ลำต้นจะพบส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำต้นมาตัดตามขวางแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5-10 นาที จะเห็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี
2. ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตร จากผิวดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก
3. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรอบดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกพืช
4. ใช้หัวพันธุ์ปลอดโรค
5. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่แสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค
6. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว นำส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก
7. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค 

 

ตกลง