รายงานสถานการณ์อุทกภัย/น้ำท่วมขัง จังหวัดปัตตานี ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2566
27 ธ.ค. 2566
302
0
รายงานสถานการณ์อุทกภัย/น้ำท่วมขัง จังหวัดปัตตานี ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2566
รายงานสถานการณ์อุทกภัย/น้ำท่วมขัง
รายงานสถานการณ์อุทกภัย/น้ำท่วมขัง จังหวัดปัตตานี ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2566

รายงานสถานการณ์อุทกภัย/น้ำท่วมขัง จังหวัดปัตตานี ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2566
1. สถานการณ์
จังหวัดปัตตานี ได้เกิดสถานการณ์ฝนตกต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณน้ำในแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ล้นตลิ่ง น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ จำนวน 8 อำเภอ (อำเภอเมืองปัตตานี, กะพ้อ, ทุ่งยางแดง, หนองจิก, โคกโพธิ์, ไม้แก่น, ยะรัง และอำเภอสายบุรี) จำนวน 30 ตำบล 95 หมู่บ้าน 20 ชุมชน “สถานการณ์ปัจจุบัน มีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง”
2. ปริมาณน้ำฝนในจังหวัดปัตตานีวัดได้ 24 ชั่วโมงที่แล้วมา (ตั้งแต่เวลา 07.00 น เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น. เช้าวันนี้) เฉลี่ยจำนวน 1.3 มิลลิเมตร (ข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยาปัตตานี)
3. สถานการณ์น้ำท่าลุ่มน้ำสายบุรี มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำสายบุรี ได้แก่ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง, ตำบลตะโละดือรามัน ตำบลปล่องหอย อำเภอกะพ้อ, ชุมชนบ้านตะพา ชุมชนบางตาหยาด ชุมชนลาเมาะทะเล ชุมชนลาเมาะบก ตำบลตะลุบัน ตำบลกะดุนง ตำบลมะนังดาลำ ตำบลตะบิ้ง ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี และบริเวณริมแม่น้ำสะพานกอตอ ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
4. สถานการณ์น้ำท่าลุ่มน้ำปัตตานี มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำจากจังหวัดยะลา และปริมาณน้ำจากฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ระบายลงสู่แม่น้ำปัตตานี ณ สถานีวัดน้ำ 1) บ้านปรีกี ตำบลกระโด อำเภอยะรัง ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่บ้านปลักปลือ บ้านคูระ บ้านม่วงเตี้ย ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน, 2) บ้านบริดอ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่บ้านบลีดอ บ้านสะนิง ตำบลบาราเฮาะ, บ้านจางา บ้านยือโม๊ะ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง และริมคลองตุยง บ้านแนบุ (โคกยาร่วง) บ้านกาเดาะ บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก และ 3) สะพานเดชานุชิต ตำบลสะบารัง อำเภอเมือง ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยบริเวณลุ่มต่ำริมแม่น้ำปัตตานีในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอาจล้นตลิ่งได้
5. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำปัจจุบัน ๑) เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ปริมาณน้ำ 1,242๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. หรือ 85.40%, ๒) อ่างเก็บน้ำบ้านนาหว้า จังหวัดปัตตานี ปริมาณน้ำ ๐.3๒5 ล้าน ลบ.ม. หรือ 100.00%, ๓) อ่างเก็บน้ำบ้านกะลาพอ จังหวัดปัตตานี ปริมาณน้ำ ๐.5๒2 ล้าน ลบ.ม. หรือ 100.00% และ ๔) อ่างเก็บน้ำ คลองเตราะหัก จังหวัดปัตตานี ปริมาณน้ำ ๐.625 ล้าน ลบ.ม. หรือ 100.00%
6. การแจ้งเตือน/การเฝ้าระวัง/การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
***- สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งโรงครัว ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี เพื่อจัดทำข้าวกล่องแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ดำเนินการช่วยเหลือ จำนวน 7 อำเภอ 11 ตำบล ดังนี้ 1) มอบพืชอาหารสัตว์(หญ้าแห้ง จำนวน 930 ฟ่อน ได้แก่ อำเภอเมือง 400 ฟ่อน, สายบุรี 150 ฟ่อน, หนองจิก 50 ฟ่อน, ยะรัง 50 ฟ่อน, โคกโพธิ์ 30 ฟ่อน, ปะนาเระ 100 ฟ่อน และอำเภอทุ่งยางแดง 150 ฟ่อน 2) เตรียมถุงยังชีพ จำนวน 240 ถุง (อำเภอละ 20 ถุง)
- โครงการชลประทานปัตตานี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว สนับสนุนกระสอบทราย และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 เครื่อง, โรงพยาบาลหนองจิก เครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง และที่ โรงพยาบาลยะหริ่ง จำนวน 1 เครื่อง
- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ข้างองค์การบริการส่วนตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
- หน่วยงานในระดับพื้นที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเบื้องต้น และสำรวจความเสียหาย
7. รายงานความเสียหายในช่วงสถานการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจความเสียหายในพื้นที่
***ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดปัตตานี ได้ติดตามสถานการณ์ และรายงานการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป***

ตกลง