แหล่งที่มาของเงินกองทุน
  • แหล่งที่มาของเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

     

    การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกข้าว (พรีเมี่ยมข้าว) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2529 ให้ยกเลิกการจัดเก็บ ซึ่งรวมวงเงินจัดเก็บทั้งสิ้นจำนวน 9,996,850,000.00 บาท

    เงินช่วยเหลือจากสหพันธ์สาธารณรัฐจำนวน 10 ล้านดอยช์มาร์ค เมื่อปี 2523 สำหรับให้ อ.ต.ก.จัดหาปุ๋ยเคมี เพื่อจำหน่ายและนำเงินส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2545 มีเงินคงเหลือนำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 85,730,000.00 บาท ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ กรกฎาคม 2546 อนุมัติจัดสรรเงินช่วยเหลือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันดังกล่าว มอบให้กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 45,000,000.00 บาท มูลนิธิชัยพัฒนา 20,000,000.00บาท สำหรับเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นให้นำเข้าไว้ในกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและให้ใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

    เงินทุนจัดหาที่ดินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ กันยายน 2540 ให้นำเงิน 1,200,000,000.00 บาท เข้าไว้ในกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโดยให้เปิดบัญชีแยกต่างหาก ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 ให้ปิดบัญชีเงินกองทุนจัดหาที่ดินฯ และโอนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,297,620.00 บาท เข้าไว้ในกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

    งบเงินกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ปอ ซึ่งได้มาจากเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกปอไปนอกราชอาณาจักร จำนวน 1,250,000.00 บาท และเงินบริจาคของสมาคมโรงงานทอกระสอบจำนวน 50,000,000.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 51,250,000.00 บาท

ตกลง