นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ของจังหวัดอุทัยธานี
2 ส.ค. 2565
94
0
นายชาตรีบุญนาคผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ของจังหวัดอุทัยธานี

       วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 18 เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ของจังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรมต่างๆ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดอุทัยธานี ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (แอพพลิเคชั่น Zoom Cloud Meeting) ณ ห้องประชุม 1403 สำนักตรวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการประชุมฯ ประกอบด้วย การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดอุทัยธานี และการรายงานข้อมูลสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดอุทัยธานี รายสินค้า ได้แก่ ข้าว กระบือ และ ปลาแรด

         ปัญหา อุปสรรคที่ตรวจพบ มีดังนี้

               1. สินค้าเกษตร ข้าว : ต้นทุนการผลิตสูง ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ, มีพื้นที่ในเขตชลประทานน้อย ขาดแหล่งน้ำใช้เพาะปลูก, ภัยธรรมชาติ ได้แก่ ฝนแล้ง น้ำท่วม รวมทั้งสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ S3 และ N ค่อนข้างมาก

               2. สินค้าเกษตร ปลาแรด : ราคาอาหารสัตว์น้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรร่วมกันซื้อปัจจัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงและใช้เศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อลดการใช้อาหารสำเร็จรูป 

         ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการ กษ. ได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมของการประชุมฯ ดังนี้

          1) ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานให้ทันตามกำหนดระยะเวลาและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย

          2) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคระบาดทั้งพืช สัตว์ และประมง มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโดยใช้อาสาสมัครเกษตรในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการรายงานสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

           3) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง

          4) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้แนวทางส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร โดยมีเป้าหมายใน 5 ด้าน คือ การลดต้นทุนการผลิต, การเพิ่มผลผลิต, การพัฒนาคุณภาพ, การตลาด และการบริหารจัดการ

          5) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม สนับสนุนให้มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง