วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 ว่าที่ร้อยตรีกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมตรวจราชการและลงพื้นที่ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 จังหวัดขอนแก่น
6 ส.ค. 2563
354
0
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 ว่าที่ร้อยตรีกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมตรวจราชการและลงพื้นที่ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 จังหวัดขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่6สิงหาคม2563ว่าที่ร้อยตรีกฤษณพงศ์
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 ว่าที่ร้อยตรีกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมตรวจราชการและลงพื้นที่ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 จังหวัดขอนแก่น

                วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 ว่าที่ร้อยตรีกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมตรวจราชการและลงพื้นที่ตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 12 จังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รอบที่ 2 ร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (นายณรงค์ เชื้อบุญช่วย) พร้อมด้วยคณะผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพาณิชย์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

                เวลา 08.30 น. เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (นายศรัทธา  คชพลายุกต์) เพื่อหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองขวัญเมือง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

                เวลา 09.00 น. ประชุมร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (นายศรัทธา  คชพลายุกต์) ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ๔ ด้าน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการฯ จำนวน ๕ โครงการ ได้แก่ 1)โครงการเกษตรสร้างมูลค่า 2) การพัฒนาชุมชนเมือง 3)การจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชน 4)สถานการณ์Covid-19  และ 5)พยาธิใบไม้ในตับ ณ ห้องประชุมพระธาตุขามแก่นชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังเก่า) สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

                1. นาแปลงใหญ่ข้าวสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 4.3% เนื่องจากการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสมและใช้เครื่องจักรแทนแรงงานและจากปัญหาจากสถานการณ์Covid-19 หน่วยงานราชการได้แนะนำให้เกษตรกรเรียนรู้การใช้สื่อออนไลน์ ทำให้ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าโดยซื้อขายจากผู้ประกอบการโดยตรง

                2.ปัญหาสภาพดินไม่เหมาะการเพาะปลูกข้าว กรมพัฒนาที่ดินได้ใช้ Zoning by Agri map จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพืชปลูกจากข้าวเป็นอ้อย, ประมง, พืชอาหารสัตว์ ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นและเกษตรกรยอมปรับเปลี่ยนมากขึ้น

                3. สถานการณ์Covid-19 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 6 ราย ปัจจุบันขอนแก่นปลอดเชื้อCovid-19 เป็นเวลา 106วัน  โดยมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่จริงจังควบคู่ไปกับการจัดเตรียมโครงการธนาคารอาหาร/เกษตรภาคครัวเรือนสำหรับสนับสนุนชุมชน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันหากมีการแพร่ระบาดของCovid-19 รอบ 2 

                4. พยาธิใบไม้ในตับ สาธารณสุขลงพื้นที่สร้างความตระหนักรู้โดยไม่ให้เชื้อจากปลาเข้าสู่คนและเชื้อจากภายนอกสู่ปลาโดยสนับสนุนให้จัดการสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งขณะนี้จัดการแล้ว 96.4% และลงตรวจเชิงรุกเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เพื่อจะได้รักษาได้ทันท่วงทีก่อนจะร้ายแรงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี

 

                โดยคณะผู้ตรวจราชการฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การปฏิบัติงานต้องเน้นการบูรณาการในพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและแจ้งปัญหาในการปฏิบัติงานที่แท้จริงเพื่อจะได้ร่วมกันบูรณาการแก้ไขเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆให้ดีขึ้นต่อไป สำหรับเรื่องพยาธิใบไม้ในตับซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ต้องสร้างการตะหนักรู้ เตรียมความพร้อม ป้องกันและกำจัดแหล่งก่อโรคทั้งในคน สัตว์เลี้ยง ปลา รวมไปถึงกำจัดการปนเปื้อนในอาหาร

                เวลา 13.3017.00 น. ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินการโครงการ จำนวน 3 โครงการ คือ

                จุดที่1 เกษตรสร้างมูลค่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด ซึ่งส่งออกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ เขียวเสวย และน้ำดอกไม้สีทองไปยังตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้้ โดยเป็นมะม่วงเกรด พรีเมียมที่สามารถผลิตได้นอกฤดูกาล ทำให้กลุ่มฯมีรายได้ตลอดปี

                จุดที่2 การพัฒนาชุมชนเมือง "เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด เป็นเทศบาลตัวอย่างด้านการสร้างกลไกความเท่าเทียม-ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น มีการจัดตั้งมหาวิชชาลัยบ้านแฮดสร้างความเท่าเทียม มุ่งสร้างชุมชน Zero Waste ไร้ขยะ ผ่านกลไกความร่วมมือในพื้นที่

                จุดที่3 การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน พื้นที่โคกทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ ตำบลคูคำ อำเภอซำสูง ให้แก่เกษตรกร ถูกนำมาใช้ปลูกข้าว อ้อย และทำปศุสัตว์ โดยได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองบัวคำมูล และยกระดับเป็นสหกรณ์ที่ดำเนินกิจการโรงสีข้าวชุมชน รับซื้อข้าวเปลือก ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์เป็นการสร้างรายได้

                โดยคณะผู้ตรวจราชการฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ด้านเกษตรเพิ่มมูลค่า ชื่นชมการปรับตัวและนำเทคโนโลยี ตลาดสินค้าออนไลน์มาแก้ไขปัญหาไม่สามารถส่งออกมะม่วงเนื่องจากสถานการณ์Covid-19 ขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันถอดบทเรียนความสำเร็จของกลุ่ม/สหกรณ์ที่เข้มแข็งเพื่อใช้เป็นต้นแบบพัฒนากลุ่มเกษตรอื่น ด้านพัฒนาชุมชนเมือง องค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถเป็นแกนกลางที่เชื่อมโยงการบูรณาการภารกิจระหว่างเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน ด้านจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นให้เป็นอาชีพเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ที่สามารถประกอบได้ตลอดปี มีการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กและพัฒนาระบบกระจายน้ำจากคลองชลประทาน ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานควรจัดทำร่างข้อเสนอโครงการที่เหมาะสมกับพื้นที่เตรียมไว้ล่วงหน้า สำหรับเสนอขอต่อแหล่งงบประมาณเร่งด่วน (งบภัยแล้ง, งบฟื้นฟู) ได้ทันเวลา

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง