เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมบูรณาการกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจราชการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี
24 ก.พ. 2563
191
0
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมบูรณาการกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจราชการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อวันที่24กุมภาพันธ์2563นางดาเรศร์กิตติโยภาส
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมบูรณาการกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจราชการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี

          เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร่วมประชุมบูรณาการกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 14 (นางสุมิตรา อติศัพท์) เพื่อตรวจราชการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (การเตรียมการเพื่อรับรองการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศแม่น้ำโขง และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยใช้กระบวนการ Government Innovation Lab) การติดตามผลการแก้ไขปัญหาไฟป่า ภัยแล้ง และอุทกภัย การติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีภารกิจดังนี้

ช่วงเช้า เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสฤษดิ์ วิฑูรย์) เพื่อหารือข้อราชการ และร่วมประชุมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี

          ดยมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

          1. การเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศของแม่น้ำโขง  ปัจจุบันพบว่าลักษณะทางกายภาพของแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ระดับน้ำลดลงมากกว่าทุกปี และใสกว่าปกติ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาของปริมาณน้ำรวมทั้งการไหลของน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งลุ่มน้ำโขง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรมทั้งในด้านสภาพดิน การเพาะปลูกพืช การทำประมง และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ รวมทั้งวิถีชีวิตของประชาชน

          โดย ผต.กษ.ได้ให้ข้อเสนอแนะ ให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวในภาพรวมของพื้นที่ที่เป็นข้อเท็จจริงจากประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งควรมีการออกแบบแผนการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงอย่างเป็นระบบ

          2. การติดตามผลการแก้ไขปัญหาไฟป่า ภัยแล้ง และอุทกภัย

                    2.1 สถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดอุบลราชธานีจะเริ่มในช่วงเดือนมีนาคม แต่มีปริมาณน้ำในเขื่อนสิรินทรที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ที่ 73% หรือประมาณ 1,450 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการเกษตร การอุปโภคและบริโภค โดย ผต.กษ.ได้ให้ข้อเสนอแนะให้เกษตรจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ชป. พด. ทส.) จัดทำข้อมูลแหล่งน้ำและส่งเสริมการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับบัญชีแหล่งน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทุกแหล่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

                    2.2 อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ปกติจะเกิดตามริมแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำเซบกและลำเชบาย โดยจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นส่วนใหญ่และเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งในระยะยาวหากมีมาตรการหรือแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงโดยไม่ปลูกพืชในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากช่วงฤดูฝนให้หันมาปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งโดยมีเงื่อนไขว่าต้องหาแหล่งน้ำให้เกษตรกร ข้อเสนอแนะของผต.กษ. ให้เกษตรจังหวัดจัดทำแผนความต้องการและงบประมาณที่ชัดเจน

           ช่วงบ่ายร่วมลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์อเล็กซานเดอร์มหาราชและตรวจติดตามสภาพนิเวศแม่น้ำโขง ณ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายอำเภอโขงเจียม กำนันและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมชี้แจงข้อมูลและติดตามสถานการณ์ในครั้งนี้ด้วย

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง