นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ.
22 ก.ค. 2564
73
0
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ.
นายสัตวแพทย์สมชวน
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ.

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ. ตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าของแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 (จังหวัดนครราชสีมา) พร้อมด้วยที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรฯ เพื่อรับการตรวจติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการที่รับผิดชอบในประเด็นที่สำคัญ ผ่านสื่อเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting 

ผู้ตรวจ สมชวนฯ ได้รับฟังรายงานจากที่ประชุม โดยมีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ ดังนี้

- จังหวัดนครราชสีมาได้จัดทำมาตรฐาน KOS ซึ่งเป็นมาตรฐาน pre-organic เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย รวมไปถึงเป็นการผลักดันให้เกษตรกรจัดทำระบบมาตรฐานของฟาร์มเบื้องต้น ก่อนที่จะพัฒนาไปให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน organic ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมาควรขับเคลื่อนและประชาสัมพันธ์มาตรฐาน KOS ให้ประชาชนได้รู้จักและยอมรับมาตรฐาน KOS มากขึ้น

- ควรรวบรวมผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับเกษตกร และรายงานให้กระทรวงเกษตรฯ ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ควรเร่งรัดให้ได้ตามเป้าหมาย ของวัคซีนที่ได้รับจัดสรรมาแล้ว และควรจัดทำแผนการฉีดวัคซีนให้มีรายละเอียดชัดเจนในรอบต่อไปที่จะได้รับวัคซีนเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้ หากมีปัญหาอุปสรรคให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไข

- การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตของจังหวัด สามารถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อาทิ เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งคณะทำงานในระดับพื้นที่ โดยอาจเชิญผู้แทนสมาคม สหกรณ์ มหาวิทยาลัย เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา

 

ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจ (นายโกศล สมจินดา) มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม 

- ควรนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้การจัดทำมาตรฐาน KOS เช่น การประเมินแปลงในเบื้องต้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย 

- การตลาดนำการผลิต ภาครัฐควรให้ความสำคัญต่อระบบการขนส่งสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะการขนส่งทางรางเป็นการขนส่งที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด นอกจากนี้ในช่วงปลายปี จะเปิดให้บริการเดินทางด้วยรถไฟจากเวียงจันทร์ไปคุณหมิง ซึ่งผู้ประกอบการในจังหวัดนครราชสีมามีความสนใจที่จะรวบรวมสินค้าเกษตรส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยระบบการขนส่งทางราง  

- การเกิดโรคระบาดในสัตว์และพืช ควรนำเสนอรายงานสถานการณ์ในพื้นที่อย่างเป็นระยะ และควรให้ภาคประชาชน/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ควรมีการประสานงานระหว่างส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค และมีระบบการติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะ 

 

ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม (นายประเสริฐ ป้ำกระโทก) มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม 

- หน่วยงานราชการควรสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ให้แก่เกษตรกรทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่ วิธีเพาะปลูก/เลี้ยง ระยะในการเติบโต ราคาที่จะขายได้ จนถึงตลาดที่จะขาย

- ในจังหวัดนครราชสีมามีปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมาก ควรสนับสนุนเกษตรกรให้มีการแปรรูปสินค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ และจำหน่ายสินค้าในระบบออนไลน์ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 

- ภาคเอกชนที่เข้ามาส่งเสริมเกษตรกร ควรให้หน่วยงานราชการเป็นผู้ประสานงาน เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้น

 

โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบาย Agri Challenge ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการให้ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้นำในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการในพื้นที่

 

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง