รายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดย สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (30/7/64)
30 ก.ค. 2564
240
0
รายการวิทยุ“รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร”
รายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดย สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (30/7/64)

          วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564  เวลา 08.10 - 09.00 น. ที่ห้องผู้ประกาศ สวท.อำนาจเจริญ นายวชิระ กว้างขวาง ประมงจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายกัณฑ์อเนก บันลือ เจ้าหน้าที่ประมง กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง  สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ นายอนุสรณ์ แซ่ต่าง นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และ นางสาวปิยะพร สุริโยตระกูล หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการเกษตร นายธนกฤต เนื้ออ่อน จ.วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมดำเนินรายการ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ/กิจกรรมด้านประมง ผ่านคลื่น FM ความถี่ 103.25 MHz ดังต่อไปนี้

 

          1) โครงการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบสมดุล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม (กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย หอยขม ปลากินพืช และพืชน้ำ) ดำเนินการโดย สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ สนับสนุนโดย จังหวัดอำนาจเจริญ ปีงบประมาณ 2565

จากผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ต่อยอดจากเกษตรผสมผสาน มาเป็นสมดุล  เป้าหมายดำเนินการ 7 อำเภอ เกษตรกร 50 ราย (เงื่อนไข : เข้าร่วมกลุ่ม Line กับทางประมงจังหวัด/ประมงอำเภอ)

          วิธีการศึกษา

 1. การเตรียมบ่อ

ล้างบ่อ กําจัดปลาผู้ล่า ใส่ปุ๋ยคอกจํานวน 150-200 กิโลกรัม หว่านรําละเอียด 30 กิโลกรัม  สร้างคอกอาหารธรรมชาติในบ่อ (บริเวณมุมบ่อ) 1 จุด ขนาด 1 เปอร์เซ็นต์ ของขนาดบ่อ

สร้างแหล่งหลบซ่อน และอาศัยของสัตว์น้ำ โดยใช้ทางมะพร้าว ใบตาล และต้นไผ่วางรอบๆ บ่อ พร้อมทั้งนําผักกระเฉดและจอก ใส่ในบ่อ ประมาณ 30 %ของพื้นที่

        2. การปล่อยสัตว์น้ำ

ปล่อยกุ้งก้ามกราม ขนาด 2-3 เซนติเมตร จํานวน 2 ตัวต่อตารางเมตร พร้อมกับกุ้งฝอย 5 ตัวต่อตารางเมตร (คละเพศ) หอยขม คละขนาด จํานวน 10 กรัมต่อตารางเมตร ปลานิล ขนาด 3-5 เซนติเมตร 1-2 ตัวต่อตารางเมตร ร่วมกับ ผักกระเฉดและจอก (30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่)

 3. ลําดับการปล่อย

ปล่อยกุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย และหอยขมพร้อมกัน หลังจากนั้น 1 เดือน ปล่อยปลานิล แล้วเลี้ยงจนครบ 8 เดือน

 4. การให้อาหาร ให้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว

เดือนที่ 1 ให้อาหารกุ้งก้ามกราม เบอร์ 2 อย่างเดียว

เดือนที่ 2 ให้อาหารกุ้งก้ามกราม เบอร์ 3 และอาหารปลากินพืช

เดือนที่ 3 ให้อาหารกุ้งก้ามกราม เบอร์ 3 อาหารปั้นก้อน (จม) และอาหารปลากินพืช

เดือนที่ 4 ให้อาหารปลากินพืช อาหารปลาปั้นก้อน (ลอย) และอาหารปั้นก้อน (จม)

เดือนที่ 5 - 8 ให้อาหารปลาปั้นก้อน (ลอย) และอาหารปลาปั้นก้อน (จม)

        คำนวณต้นทุน-ผลตอบแทน (ต่อไร่) 

        ต้นทุน ลูกกุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย หอยขม ปลากินพืช ผักกระเฉดและจอก ปู่ยคอก ฟางข้าว อาหารกุ้งก้ามกราม เบอร์ 2 และ เบอร์ 3 อาหารปลากินพืช อาหารปั้นก้อน ชนิดลอย และชนิดจม ประมาณ 24,600 บาท /ไร่

        ผลตอบแทน ลูกกุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย หอยขม ปลากินพืช ผักกระเฉดและจอก ประมาณ 65,500 บาท/ไร่

 

        2) ประมงจังหวัด แนะนำช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านประมงจังหวัดอำนาจเจริญ

กลุ่ม Line ประมงจังหวัด/ประมงอำเภอ เป็นการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ เพื่อให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โครงการ/กิจกรรมด้านประมง องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตลอดจนการเตือนภัยด้านประมงให้ทันกับสถานการณ์ ผ่าน Line 

        เว็ปไซต์ สำนักงานประมงจังหวัดอำนาจเจริญ กรมประมง  https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/welcome/fpo-amnatcharoen

 Facebook  ประมงจังหวัด อำนาจเจริญ https://www.facebook.com/amnatfpo   

และ Youtube ประมงอำนาจเจริญ https://www.youtube.com/channel/UCQY51sKi4JzWBGiwym-5diA

 

         3) แนะนำ สูตรอาหารลดต้นทุนด้วยส่วนผสมจากวัสดุในท้องถิ่น   

          ปัจจุบันเกษตรกร มีพืชผลการเกษตรบางชนิดที่ เหมาะสมนํามาเป็นวัตถุดิบผสมในสูตรอาหารสัตว์น้ำ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ มันสําปะหลัง มันเทศ ฟักทอง ฯลฯ บางครั้งมีปริมาณมาก จนผลผลิตล้นตลาด สุก งอม จนต้องทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ 

          สูตรอาหารช่วยเกษตรกรลดต้นทุนด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น หากท่านใดมีวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น มันชนิดต่างๆ ฟักทอง ปลายข้าว เศษอาหาร เหลือๆ ก็ สามารถปรับสูตรได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มไขมัน วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตามทรัพยากรใน ท้องถิ่นที่หาได้ง่าย และต้นทุนต่ำ

ต้นทุนอุปกรณ์ แบบหมุนเอง (ขนาดเล็ก ไม่ต่อ มอเตอร์)

          - เครื่องบดหมู เเบบหมุนมือ เบอร์ 5 ราคา 1,000 บาท 1 ชั่วโมง ทําอาหารได้ มากกว่า 15 กิโลกรัม

          - ต้นทุนอุปกรณ์ (ขนาดใหญ่ ต่อมอเตอร์ ทุ่นแรง) เครื่องบดหมู แบบหมุนมือ เบอร์ 32 ราคา 1,900 บาท

          สูตรอาหาร

          1. กล้วย 2-3 ลูก น้ำหนัก 100 กรัม

          2. รำข้าว แบบละเอียด 600 กรัม

          3. ปลาป่น 200 กรัม (ใช้อาหารสําเร็จรูปแทน ถ้าไมมีปลาป่น)

          4. น้ำเปล่าไม่เกิน 150-200 มิลลิลิตร

          5. น้ำมันปาล์ม 50 มิลลิลิตร

          6. วิตามินอี 1 กรัม

          7. วิตามินซี 1 กรัม (1 เม็ด ความเข้มข้นวิตามินซี 100 มิลลิกรัม)

          8. ยีสต์ 5 กรัม (1 ช้อนชา)

          9. กากน้ำตาล (ช่วยเพิ่มความหอม และเสริมรสชาติ ดึงดูดการเข้าหาอาหาร)

          วิธีผสมอาหาร

          1. นำส่วนผสมทุกอย่างจนเข้ากันดี

          2. นําส่วนผสมไปอัดเป็นเส้น ด้วยเครื่องบดเนื้อ

          3. ฝั่งแดด 2-3 วัน หรือจนแห้ง หากเครื่องอัดอาหาร ไม่มีใบมีด ตรงหน้าแวนให้ตากอาหารให้แห้งจนสามารถหักอาหารเป็น ท่อนสั้นๆ ได้

          4. นําไปให้ปลากินเป็นอาหารสมทบ สูตรนี้เป็นอาหารแบบจมน้ำ

          5. ควรให้ปลากินให้หมดภายใน 10 วัน ต่อการทํา 1 ครั้ง เพื่อ ป้องกันการเกิดเชื้อราในอาหาร

          6. เศษอาหารที่เหลือ จากการหักอาหารให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ จะ มีลักษณะเป็นผง หรือเคษอาหารปลาขนาดเล็ก ๆ เราสามารถ เก็บรวบรวมไว้นําไปผสมไหมรอบหน้า หรืออาจนําไปอนุบาล ลูกปลาสวยงาม หรือสัตว์น้ำขนาดเล็กได้

           *** จากการทดสอบอาหารเบื้องต้น พบว่า ปลาเข้ามากินรวดเร็ว ปลามีการ ตอบสนองต่ออาหาร กินอาหารที่ให้จนหมด ต้นทุน 16-20 บาท ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม หากเกษตรกร ทํานาเองมีรําข้าว ต้นทุนลดลงเหลือ 1-14 บาท ต่อกิโลกรัม ปัจจุบันอาหารสําเร็จรูปในท้องตลาศ ราคาต้นทุนอยู่ที่ กิโลกรัมละ 25-30 บาท (โปรดิน 25 เปอร์เซ็นต์)

 

           4) แจ้งพันธุ์สัตว์น้ำจืดพร้อมจำหน่ายประจำสัปดาห์

          - ปลานิลแปลงเพศ ขนาด 3-5 จำหน่ายตัวละ 50 สตางค์

 

          *** สนใจซื้อพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานกรมประมง ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ https://www.facebook.com/amnatchant  โทรศัพท์ 045-525662 

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง