นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 15 เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ข
5 ส.ค. 2565
145
0
นายชาตรีบุญนาคผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 15 เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ข

          วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 15 เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรมต่างๆ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting) ณ ห้องประชุม 1403 สำนักตรวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการประชุมฯ ประกอบด้วย การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และการรายงานข้อมูลสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอน รายสินค้า ได้แก่ กาแฟ ไก่ไข่ และ ปลาดุก

          ปัญหา อุปสรรคที่ตรวจพบ มีดังนี้

                1. กาแฟ : พบการระบาดของมอดเจาะผลกาแฟ/ ความพร้อมและทักษะในการใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรมีน้อย

                2. ไก่ไข่ : ต้นทุนด้านอาหารสัตว์มีราคาสูง

ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการ กษ. ได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมของการประชุมฯ ดังนี้

          1) ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานโครงการให้ทันตามกำหนดระยะเวลาและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย

          2) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรใน ศพก.ว่า เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปรับใช้/ปฏิบัติได้ มีการขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น รวมถึงสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างไร 

          3) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง

          4) ขอให้ทุกหน่วยงานใช้แนวทางส่งเสริมแบบแปลงใหญ่ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร โดยมีเป้าหมายใน 5 ด้าน คือ การลดต้นทุนการผลิต, การเพิ่มผลผลิต, การพัฒนาคุณภาพ, การตลาด และการบริหารจัดการ รวมทั้งดำเนินการตามนโยบายตลาดนำการผลิต

          5) ขอให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกันในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมาย ให้เกษตรกรในพื้นที่เกิดรายได้ โดยการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม ส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมถึงสนับสนุนช่องทางการตลาดต่างๆ

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง