นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามและขับเคลื่อนแบบบูรณาการโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตตรวจราชการที่ 15 ครั้งที่ 2/2565
19 ม.ค. 2565
39
0
นายชาตรีบุญนาคผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายชาตรี บุญนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามและขับเคลื่อนแบบบูรณาการโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตตรวจราชการที่ 15 ครั้งที่ 2/2565

       วันพุธที่ 19 มกราคม 2565 เวลา 13.30 น. ชุมติดตามและขับเคลื่อนแบบบูรณาการโครงการตามแผนการตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตตรวจราชการที่ 15 ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม ZOOM Meeting ณ ห้องประชุมสำนักตรวจราชการ (1403)

       การประชุมครั้งนี้ ฯ เป็นการประชุมตามแผนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกอบด้วย การสร้างความเข้าใจในแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย BCG Model กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ผู้ตรวจราชการฯ และการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และข้อมูลพื้นที่ภัยพิบัติด้านการเกษตรซ้ำซากจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และการนำเสนอข้อมูลสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบชนิดสินค้าเกษตร ใน 10 ชนิดสินค้า คือ ด้านพืช 1) ข้าว 2) กระเทียม 3) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4) ถั่วเหลือง 5) กาแฟ ด้านปศุสัตว์ 6) ไก่ไข่ 7) โคเนื้อ 8) ไก่แม่ฮ่องสอน ด้านประมง 9) ปลานิล และ 10) ปลาดุก ที่สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       ผู้ตรวจราชการฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้

       1. ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบชนิดสินค้าเกษตร ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์ ในแต่ละประเด็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       2. ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำสรุปข้อมูลภาพรวมตามประเด็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรูปแบบ One page

       3. ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายตามมติ ครม. 

       4. ขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน BCG ภาคเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

       5. ขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน รณรงค์ลดการเผาในพื้นที่เกษตร เพื่อลดจุดความร้อน (Hot Spot) ในพื้นที่ และให้ทำข้อมูลเป็น Mapping ด้วย

       6. ขอให้สำนักงานเกษตรจังหวัดจัดทำสรุปข้อมูลพื้นที่เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก โดยระบุพื้นที่ จำนวนครัวเรือน/เกษตรกร การประกอบอาชีพทางการเกษตร จำนวนพื้นที่(ไร่) ที่ได้รับความเสียหาย ส่งให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อทำข้อมูลเป็น Mapping

       7. ขอให้หน่วยงานกรมชลประทานในพื้นที่ จัดทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่แล้งซ้ำซาก และน้ำท่วมซ้ำซาก เป็น One page รวมทั้งให้ระบุแนวทางการดำเนินการ/แนวทางแก้ไข

       8. ขอให้หน่วยงานกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่ สำรวจดินในพื้นที่แล้งซ้ำซาก และน้ำท่วมซ้ำซาก โดยใช้ข้อมูลจาก Agri Map ในการวิเคราะห์ว่าพื้นที่มีความเหมาะสม/ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชชนิดใด และวางแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหรือประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง