ยุโรปเอาจริง!   ด้วยกฎหมาย EUDR (EU Deforestation Regulation) เพื่อปกป้องป่าไม้โลก
23 ธ.ค. 2567
389
0
ยุโรปเอาจริง!   ด้วยกฎหมาย EUDR (EU Deforestation Regulation) เพื่อปกป้องป่าไม้โลก
ยุโรปเอาจริง!ด้วยกฎหมายEUDR(EUDeforestationRegulation)เพื่อปกป้องป่าไม้โลก
ยุโรปเอาจริง!   ด้วยกฎหมาย EUDR (EU Deforestation Regulation) เพื่อปกป้องป่าไม้โลก

ยุโรปเอาจริง!   ด้วยกฎหมาย EUDR (EU Deforestation Regulation) เพื่อปกป้องป่าไม้โลก

ทุกการนำเข้าสินค้าต้องมีความโปร่งใส และพิสูจน์ได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า   ใครทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตร อย่าพลาด!
เพราะกฎหมายนี้จะมีผลกระทบใหญ่ต่อการส่งออก 
มาดูวิธีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจของคุณสอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ ช่วยรักษ์โลกและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในตลาดสากลได้ไปพร้อมกัน 

กฎหมาย EUDR ได้กำหนดไว้ว่า ต่อจากไปนี้ 7 กลุ่มสินค้าที่จะส่งออกหรือนำเข้าของตลาด EU อย่าง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ เช่น ถุงมือยาง กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ยางรถยนต์ และเครื่องหนังสัตว์นั้น ต้องผ่าน 3 เงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
เป็นสินค้าที่ไม่มาจากการบุกรุกพื้นที่ป่า หรือผลิตบนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า
เป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิตถูกต้องตามกฎหมาย เช่น กฎหมายที่ดิน แรงงาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ป่าไม้
ผ่านการตรวจสอบและประเมินสินค้า (Due Diligence) โดยต้องมีการรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นพิกัดทางภูมิศาสตร์ของที่ดินที่ใช้เพาะปลูก เอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดิน วันที่และระยะเวลาการผลิต รายชื่อซัพพลายเออร์ รวมถึงหลักฐานที่แสดงว่า เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่า
 โดยผู้ส่งออกต้องมีหน้าที่ทำ 3 อย่างนี้
1. ยื่น Due Diligence Statement ต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลก่อนส่งออก
2. เก็บ Due Diligence Statement ไว้อย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันที่นำส่ง
3. รายงานให้หน่วยงานที่กำกับดูแลทราบทันที

 แม้วันนี้จะมีการกำหนดเวลาใหม่ในการให้ปฏิบัติตามกฎ EUDR โดยเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2568 สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ และวันที่ 30 มิถุนายน 2569 สำหรับ SME ก็ตาม
 แต่ผู้ส่งออกไทยควรต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเก็บข้อมูลต่างๆ ตามเงื่อนไขให้พร้อม
 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปลงทะเบียนแหล่งปลูกไม้ผ่านทางแอปพลิเคชัน e-TREE ของทางกรมป่าไม้ หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของการยางแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานรองรับกฎ EUDR ได้
แม้กฎหมายนี้จะทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการเดินหน้าเรื่องความยั่งยืนให้เข้มข้นขึ้น และใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าและนักลงทุนได้
 หาทางออกให้ธุรกิจด้วย สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพร้อมรับมือกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ใต้คอมเมนต์ครับ
.
ที่มา: LiveEO, TPSO, Ministry of Commerce, SET
Facebook : K SME

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง